วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
       มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา  โดยห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษวิธีการยืมระหว่างห้องสมุด  ดังนี้
!จัดทำคู่มือ
!กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
!กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน

กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
      คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน 

การสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ 
     เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์  และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุดว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.  การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อผ่านทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ อาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน  จึงควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
รวมถึงใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ 
อาจผ่านเครือข่ายความร่วมมือ เช่น PULLINET  ThaiLis

2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
         ภายในสถาบัน/เครือข่าย  สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น รวมถึงผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย  ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบันอื่นๆ
  ยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW)
        ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น   สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรยืมมากที่ใด

การคิดค่าบริการ
       ควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน   แต่สถาบันควรมีชดให้หากเกิดการสูญหาย

วัสดุที่ควรเพิ่มในการให้บริการ
!หนังสืออ้างอิง
!หนังสือหายาก
!ประเด็นสำคัญในปัจจุบันของวารสาร
!จดหมายเหตุบนไมโครฟิล์ม



ข้อควรทราบเรื่องลิขสิทธิ์

สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์
มาตรา 7 กำหนดให้งานดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์
1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร 
2) รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3) ระเบียบ ข้อบังคับ  คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของหน่วยงาน
4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆที่กระทรวง ทบวง กรม หรืองานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

สิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง
!ทำซ้ำหรือดัดแปลง
!เผยแพร่ต่อสาธารณชน
!ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
!โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
!ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธ์แก่ผู้อื่น



บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ILL)

   


   บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan - ILL)

                เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน เนื่องจากไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด จึงต้องให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม



ความคาดหวังของผู้ใช้
มีความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม
มีความน่าเชื่อถือ
สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้



ปรัชญาของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
       ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
รวมถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด



ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
ลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่พอเพียง 
ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน 
มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า
ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น 



องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ  เช่น PULINET  THAILIST OHIOLINK  WORLDCat
การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
สมาชิกเครือข่าย



วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับในบริการยืม-คืน


ค่าปรับในบริการยืม-คืน



ค่าปรับ  

         มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกความรับผิดชอบ  กระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งคืนหนังสือตามกำหนด  เนื่องจากหนังสือต้องหมุนเวียนและกระจายให้ผู้ใช้อย่างทั่วถึง



การกำหนดค่าปรับ

      ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด  จึงอาจมีจำนวนแตกต่างกัน  เช่น ค่าปรับของการยืมระยะสั้นจะสูงกว่าการยืมระยะยาว  ทรัพยากรสารสรชนเทศแต่ละเภทมีค่าปรับแตกต่างกัน เป็นต้น



การจัดการปัญหาในการปรับ 

      เพื่อให้สารสนเทศกระจายได้อย่างทั่วถึง  จึงต้องมีการจัดการปัญหา ดังนี้
มีการผ่อนผัน (ยืดเวลาในการส่ง)
สิทธิในการใช้ห้องสมุดถูกระงับ หากไม่มีการส่งคืนและไม่จ่ายค่าปรับ
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทำเรื่องขอระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา
กำหนด Grace period ให้สอดคล้องกับระยะเวลายืมคืน


จริยธรรมในการบริการ

       บรรณารักษ์ต้องปกป้องสิทธิของผู้ใช้ทุกคน  ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ทั่วถึงและเท่าเทียม  ฉะนั้นทรัพยากรสารสนเทศต้องมีการกระจายให้ผู้ใช้อย่างทั่วถึง


การจัดการชั้น

(หน้าที่ของแผนกยืม-คืน) มีหน้าที่เรียงหนังสือบนชั้น
ป้องกันการสูญหาย  บรรณารักษณ์ควรมีการจัดการและดูแล
พยายามเรียงหนังสือเล่มเดิมให้อยู่ในที่เดิม
หนังสือยอดนิยม  ควรจัดในที่ที่หาง่าย

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ

    เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริการยืม-คืน ที่คอยดูแลผู้ใช้  สาเหตุหลักที่ผู้ใช้ไม่พอใจในงานบริการอาจมีดังนี้
ระยะเวลาในการยืมสั้น
ไม่สามารถหาทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้
จำนวนค่าปรับ
ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Circulation Service



บริการยืม-คืน/จ่ายรับ (Circulation Service)

    เป้าหมายหลัก คือ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ  รวมถึงนำไปค้นคว้านอกสถาบันได้


บทบาทและหน้าที่


 1. การควบคุมงานบริการยืม- คืน  เป็นสิทธิในการได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันและตอบสนองความต้องการมีสารสนเทศไว้ในมือ

   2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด  เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้มองเห็นและเข้ามาติดต่อกันมากในห้องสมุด  ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด


การจัดการ


1.  ห้องสมุดขนาดเล็ก
 บรรณารักษณ์เป็นผู้ดูแล  จัดการ  กำหนดนโยบาย  ขั้นตอนการดำเนินงาน  ข้อกำหนดต่างๆ  รวมถึงแนะนำการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่

2.  ห้องสมุดขนาดกลาง  หัวหน้าแผนกเป็นผู้รับผิดชอบ
3.  ห้องสมุดขนาดใหญ่  หัวหน้าแผนกอาจรายงานไปยังผู้ช่วยบรรณารักษ์  ให้จัดการกับผู้ใช้บริการหรือแผนกอื่นๆในห้องสมุด


ความรู้และทักษะที่ดี


1. มีใจรักบริการ มีความอดทนสูง

2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากกรสารสนเทศที่มีให้บริการ
3. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์  ฐานข้อมูล OPAC
4. มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
5. มีมนุษยสัมพันธ์อันดี


คุณสมบัติ


1.  ผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรมีความคุ้นเคยกับห้องสมุด  รวมถึงได้รับโอกาสในการทำงานให้เกิดผลที่ดี  ในทุกๆแนกของห้องสมุด
2.  ทราบถึงความสนใจและความต้องการของผู้ใช้บริการ
3.  มีเทคนิคการดำเนอนงานตามนโยบายของสถาบันการศึกษา
4.  เต็มใจให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของห้องสมุดอื่นๆ


งานที่เกี่ยวข้อง 
1.  บริการยืม-คืน (check in and check out)

   บริการยืม- คืน  ทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่างๆ
   
& กำหนดระยะเวลาในการยืมและคืนทรัพยากรสารสนเทศตามนโยบายสถาบัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้อย่างทั่วถึง
   & บริการรับจองสิ่งพิมพ์
   & บริการตรวจสอบหนังสือ  เมื่อผู้ใช้หาจากชั้นหนังสือไม่พบ
   & ปรับสิ่งพิมพ์ที่เกินกำหนดส่งหรือชำรุดเสียหาย  โดยกำหนดอัตราปรับพร้อมออกใยเสร็จรับเงิน
   & บริการตอบคำถามชี้แนะสารสนเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดและผู้ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์
   & บริการยืมระหว่างห้องสมุด  การจัดส่งเอกสาร


2.  ทะเบียนผู้ใช้-ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
   & ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ  เพศ  ความสนใจ  ซึ่งจะช่วยในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
   & มีความรู้ในงานบริการต่างๆ  สามารถตอบคำถามแก่ผู้ใช้ในเรื่องการบริการและทรัพยากรที่ให้บริการได้
   & มีมนุษยสัมพันธ์  ไม่รำคาญหรือเบื่อหน่ายหากต้องตอบคำถาม
   & ผู้ทำหน้าที่ลงทะเบียนผู้ใช้  ได้แก่  ผู้ช่วยบรรณารักษ์  เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและนักศึกษาฝึกงาน


3.  ระบบยืม-คืนอัตโนมัติ
   & พัฒนาขึ้นเอง
   
& ยืมและนำมาดัดแปลง  เพื่อความเหมาะสมกับห้องสมุดของหน่วยงานนั้นๆ
   & ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป  ตัวอย่างเช่น โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ชื่อ "ทรงไทย"
   & ใช้ร่วมกับผู้อื่น (share-system)  


เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้กับบริการยืม-คืน
   1. เทคโนโลยีรหัสแถบ  (Barcode)
   2. คิวอาร์โค้ด (QR code , 2D Barcode)
   3. เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  (Radio Frequency Identify - RFID)














วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Library building



Library Building
       
1. โครงสร้างอาคารภายนอก  ควรออกแบบให้มีความหรูหราและทันสมัย ทั้งรูปแบบและโครงสร้างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ  รวมถึงสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ในจำนวนที่เหมาะสม ไม่มากจนแออัดเกินไป  วัสดุที่นำมาสร้างควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบๆห้องสมุดว่ามีเสียงดังรบกวนผู้ใช้หรือไม่ด้วย



                     National Library ใน Astana ประเทศคาซัคสถาน :  เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย   รวมถึงสวนรอบๆห้องสมุดถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ

2.  โครงสร้างภายในอาคาร การออกแบบโครงสร้างภายในห้องสมุดควรมีการจัดแบ่งพื้นที่การให้บริการเป็นหมวดหมู่  เช่น  โซนที่ต้องการความเงียบหรือความเป็นส่วนตัว  โซนเด็ก  โซนมัลติมีเดีย  เป็นต้น  เนื่องจากในปัจจุบันห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือ  แต่ความทันสมัยของเทคโนโลยีทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในห้องสมุด  จึงควรมีการแบ่งหมวดหมู่หรือแบ่งโซนตามความเหมาะสม  อีกทั้งยังควรคำนึงถึงจำนวนโต๊ะ เก้าอี้  ความสูงหรือความกว้างของชั้นหนังสือ  การจัดเรียงหนังสือควรจัดให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายและสะดวก 
             สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์แบบ  คือ  ต้องออกแบบต้องรองรับกับงานบริการผู้ใช้และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆกัน




3. บริการอำนวยความสะดวกต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นบริการถ่ายเอกสาร แสกนรูปภาพและเครื่องฟังซีดี  ควรมีครบ เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ


4. ความสว่าง  ภายในห้องสมุดควรมีแสงสว่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้  ไม่ทึบจนเกินไป



5. ป้ายสัญลักษณ์  ไม่ว่าจะเป็นป้ายเตือนหรือป้ายบอกที่อยู่ของหนังสือ  ควรมีในทุกที่  เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบและสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ



6. เฟอร์นิเจอร์  ในแต่ละโซนควรมีความเหมาะสมและจัดให้เป็นระเบียบ  เช่น โซนเด็ก ควรมีเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและมีสีสันสะดุดตา  เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการ  อีกทั้งในแต่ละมุมหรือแต่ละโซนควรมีเฟอร์นิเจอร์ที่นุ่ม  มีขนาดเหมาะสมและสะดวกสบาย  เมื่อผู้ใช้บริการเข้าใช้



7. Library Equipment   เนื่องจากห้องสมุดในปัจจุบันมีความทันสมัย  อุปกรณ์ภายในห้องสมุดจึงควรมีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีด้วย  อีกทั้งควรมีจำนวนที่เหมาะสมและให้บริการผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง  ตัวอย่างเช่น  Book binder ,Digital Microfilm Scanning , Shelves reader , Key-lock for system security , Security gate , Optelec Video Management   เป็นต้น