วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
       มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา  โดยห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษวิธีการยืมระหว่างห้องสมุด  ดังนี้
!จัดทำคู่มือ
!กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
!กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน

กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
      คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน 

การสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ 
     เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์  และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุดว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.  การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อผ่านทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ อาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน  จึงควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
รวมถึงใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ 
อาจผ่านเครือข่ายความร่วมมือ เช่น PULLINET  ThaiLis

2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
         ภายในสถาบัน/เครือข่าย  สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น รวมถึงผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย  ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบันอื่นๆ
  ยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW)
        ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น   สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรยืมมากที่ใด

การคิดค่าบริการ
       ควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน   แต่สถาบันควรมีชดให้หากเกิดการสูญหาย

วัสดุที่ควรเพิ่มในการให้บริการ
!หนังสืออ้างอิง
!หนังสือหายาก
!ประเด็นสำคัญในปัจจุบันของวารสาร
!จดหมายเหตุบนไมโครฟิล์ม



ข้อควรทราบเรื่องลิขสิทธิ์

สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์
มาตรา 7 กำหนดให้งานดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์
1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร 
2) รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3) ระเบียบ ข้อบังคับ  คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของหน่วยงาน
4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆที่กระทรวง ทบวง กรม หรืองานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

สิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง
!ทำซ้ำหรือดัดแปลง
!เผยแพร่ต่อสาธารณชน
!ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
!โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
!ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธ์แก่ผู้อื่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น