วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (ต่อ)


บริการสอนผู้ใช้  (ต่อ)





การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา 


1.  การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) เป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง เช่น
- มช.  009103  การรู้สารสนเทศและการนำเสนอสารสนเทศ   เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศและการรู้สารสนเทศ ความต้องการและการแสวงหาสารสนเทศ  เป็นต้น
- สยามเทค  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ  ระดับชั้น ปวส.ชั้นปีที่ 1-2   ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆประเภทของข้อมูลสารสนเทศรูปแบบต่างๆ  เป็นต้น


2.  การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction)  เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ 


3.  การสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม


4.  โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด


5.   บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง


6.  สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ


มาตรฐาน


     สมาคมห้องสมุด (American Library Association-ALA)  ได้จัดทำมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับนักเรียน ในปี 1998  และมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ในปี 2000   


แบบทดสอบ 


1. สมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัย  และวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (Association of College and Research Libraries-ACRL) พัฒนาแบบทดสอบ  เรียกว่า Standardized Assessment of Information Literacy  Skills (SAILS)  
2. สถาบันสากล Education Testing Service (ETS)  ได้จัดทําแบบทดสอบมาตรฐานทักษะการรู้สารสนเทศออนไลน์เรียกว่า Information and Communication Technology   Literacy Test (iSkills) 
3. สถาบัน Council of Australian University Librarians ในประเทศออสเตรเลีย  (CAUL)  ได้พัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานเรียกว่า  Information Skills Survey (ISS)


การบริหารจัดการ


การวางแผนการเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วย
   1. ประเมินความต้องการผู้ใช้
   2. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
   3. ประชาสัมพันธ์โปรแกรมการสอน
   4. จัดเตรียมอุปการณ์การสอน
   5. จัดเตรียมบุคลากร
   6. จัดเตรียมสถานที่
   7. ปฏิบัติตามแผนงาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น