วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)





บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)




     หนังสือสำรอง ส่วนใหญ่ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น  โดยให้บริการตามปกติที่เคาเตอร์ยืม-คืน  รวมถึงจำกัดระยะเวลาและจำนวนในการยืม

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม

1. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล เช่น ของอาจารยให้นักศึกษายืมอ่าน
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือ ได้แก่ ซีดี แบบทดสอบ ข้อสอบ (ต่างประเทศมีให้บริการนักศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอบ)
        นอกจากนี้ยังมีรูปภาพดิจิตอล  ซึ่งเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์  สามารถนำมาอ่านได้  อาจเป็นภาพจากวารสารหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ หากต้องการทำสำรอง ทางห้องสมุดสามารถทำให้ได้



ความสำคัญของบริการ


1. มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
2. เปิดโอกาสให้บรรณรักษ์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้สอน
3. นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน


งานที่ปฏิบัติ


1. รับใบขอใช้บริการ   ได้แก่  รับเอกสาร  จัดทำสำเนา  เข้าเล่มและจัดระเบียบเอกสาร
2. การทำบัตรยืม  ได้แก่ กำหนดระยะเวลาในการให้ยืม ให้บริการยืม-คืน เก็บค่าปรับ คืน-ย้ายเอกสารเก็บและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น


การจัดเก็บ


    ปัจจุบันใช้ระบบบาร์โค้ดหรือระบบอัตโนมัติ  โดยจัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชา ชื่อผู้สอน  สำหรับเอกสารที่มีการสแกน มีการจัดเก็บไว้บน OPAC และแจ้งแหล่งจัดเก็บให้สามารถถ่ายโอนได้ทันที


การจัดการเอกสาร


1. โดยการประทับตรา "ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น"
2. จัดทำบัตรยืมและมีคำแนะนำ เช่น ห้ามนำออกจากห้องสมุด ห้ามถ่ายเอกสาร
3. ใช้สีแตกต่างกันหากมีระยะเวลาในการให้ยืมต่างกัน
4. ใส่ชื่อผู้สอนตามกระบวนวิชา


ระยะเวลาในการยืม


1. สำหรับการยืมในห้องสมุด ระยะเวลาที่กำหนดคือ 2 ชั่วโมงเท่านั้น
2. ยืมออกนอกห้องสมุด 1-2 วันหรือเฉพาะนอกเวลาทำการเท่านั้น
3. โดยทั่วไประยะเวลาจะสั้นกว่าปกติและสามารถหมุนเวียนในหลุ่มผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง


การเข้าถึง


1. รายการหนังสือสำรองจะมีแจ้งในการค้น OPAC 

2. มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ได้
3. แจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บหรือวิธีการจัดเก็บ ให้ผู้สอนแจ้งนักศึกษาต่อ


ความสัมพันธ์กับผู้สอน


      พยายามติดต่อสื่อสารกับผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ  และบรรณารักษ์ควรดำเนินการแจ้งให้มารับหรือประสานงานในรูปแบบการส่งคืนที่ต้องการ


การจัดเจ้าหน้าที่ / คุณสมบัติ


1. ปรับจำนวนผู้ใช้บริการตามจำนวนการเข้าใช้
2. มีทักษะในการสื่อสาร ประสานงาน
3. มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์



รูปแบบการจัดเก็บ


1. ชั้นปิด
2. ในกรณีที่หนังสือมีไม่มาก ก็จัดเก็บในบริเวณให้บริการยืม-คืน
3. จัดเก็บบริเวณใกล้เคียงกับบริการยืมคืน
4. ห้องแยกเฉพาะ


การจัดบริเวณบริการ


   ควรอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับเคาเตอร์จ่ายรับ  สามารถมองเห็นได้ง่าย  และควรมีเครื่องถ่ายเอกสารในบริเวณใกล้เคียง


แนวโน้มการให้บริการในอนาคต


1. มีเอกสารดิจิตอลให้สามารถถ่ายโอนและมีการจัดทำรายการฉบับพิมพ์และบน OPAC
2. สามารถเข้าถึงได้ตอดเวลาและสถานที่
3. มีการป้องกันสิทธิ
4. คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น