วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการข่าวสารทันสมัย CAS



บริการข่าวสารทันสมัย CAS



    เป็นบริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันได้รับทรัพยากรสารสนเทศ   CAS อาจเรียกอีกอย่างว่า SDI (ให้บริการเจาะจงเฉพาะบุคคล จัดทำตามคำร้องขอของผู้ใช้) , Alerts , Alerting services  


รูปแบบการบริการ CAS
1. เดิมใช้การเวียนเอกสารหรือจัดส่งโดยตรง สามารถแจ้งให้ผู้ใช้ทราบได้ทันที 
2. นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการ  เช่น e-mail alerts  บริการจดหมายข่าว TOC


       สำหรับการเวียนเอกสาร มีหลักการคือ จัดการปกหรือรูปเล่มให้ดีก่อนส่งต่อ จัดทำได้ 3 วิธี  คือ
1.  ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป เมื่อครบ 7 วันก็ส่งกลับมายังสถาบันบริการ
2. แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เมื่อใช้เสร็จก็ส่งต่อไปยังกลุ่มต่อไป
3. จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน 


ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร
1.  ไม่ควรจัดให้บริการแก่สมาชิกใหม่ นอกจากจะเป็นสมาชิกที่ต้องการจริงๆ เพื่อป้องกันการสูญหาย
2.  ไปเยี่ยมผู้ใช้บริการเป็นครั้งคราว เพื่อนำปัญหาที่พบมาพัฒนาและแก้ไขต่อไป
3. จัดลำดับให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง เพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน


แบบฟอร์มการเวียนเอกสารแบบเดิม
      อาจมีลักษณะและรายละเอียดแตกต่างกันตามขนาดของสถาบันบริการสารสนเทศ และจำนวนผู้ใช้บริการ


การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่
1.สถานที่จัดแสดง : ควรเป็นบริเวณที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ผ่านเป็นประจำ 
2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาจัดแสดง : ควรเเลือกทรัพยากรสารสนเทศใหม่มาจัดแสดง หรือเฉพาะรายการายการสำคัญของแต่ละสาขาวิชา
3. วิธีการจัดแสดง : กรณีมีข้อจำกัดด้านสถานที่ อาจจัดแยกตามบริเวณต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม  และควรแยกประเภทเอกสาร เพื่อความสะดวกและสะดุดตาแก่ผู้ใช้บริการ
4. ระยะเวลาในการจัดแสดง : ส่วนใหญ่ใช้เวลา 2 สัปดาห์
5. การอนุญาตให้ใช้ขณะจัดแสดง : ระหว่างจัดแสดงอาจอนุญาตให้ยืม ออกได้เพื่อสนองความต้องการใช้ของผู้ใช้
6. การดำเนินการทางเทคนิค : จะดำเนินการทางเทคนิคให้ก่อนหากผู้ใช้จำนงความต้องการ 


การจัดส่งบริการ CAS
1. สิ่งพิมพ์ : สามารถใช้ได้กับองค์กรทุกขนาด มีข้อดีคือผู้ใช้สามารถจดบันทึกลงบนกระดาษได้  ส่วนข้อเสียคือ เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ ฉีกขาดหรือสูญหายได้ง่าย
2. โทรคมนาคม : ได้แก่ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ มือถือ  เป็นสิ่งที่ผู้ใช้คุ้นเคยกับการสื่อสารด้วยคำพูด  แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ใช้บางคนอาจรู้สึกรำคาญที่ต้องรับฟังข้อมูลทั้งหมด




     

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (ต่อ)


บริการสอนผู้ใช้  (ต่อ)





การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา 


1.  การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) เป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง เช่น
- มช.  009103  การรู้สารสนเทศและการนำเสนอสารสนเทศ   เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศและการรู้สารสนเทศ ความต้องการและการแสวงหาสารสนเทศ  เป็นต้น
- สยามเทค  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ  ระดับชั้น ปวส.ชั้นปีที่ 1-2   ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆประเภทของข้อมูลสารสนเทศรูปแบบต่างๆ  เป็นต้น


2.  การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction)  เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ 


3.  การสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม


4.  โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด


5.   บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง


6.  สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ


มาตรฐาน


     สมาคมห้องสมุด (American Library Association-ALA)  ได้จัดทำมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับนักเรียน ในปี 1998  และมาตรฐานการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ในปี 2000   


แบบทดสอบ 


1. สมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัย  และวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (Association of College and Research Libraries-ACRL) พัฒนาแบบทดสอบ  เรียกว่า Standardized Assessment of Information Literacy  Skills (SAILS)  
2. สถาบันสากล Education Testing Service (ETS)  ได้จัดทําแบบทดสอบมาตรฐานทักษะการรู้สารสนเทศออนไลน์เรียกว่า Information and Communication Technology   Literacy Test (iSkills) 
3. สถาบัน Council of Australian University Librarians ในประเทศออสเตรเลีย  (CAUL)  ได้พัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานเรียกว่า  Information Skills Survey (ISS)


การบริหารจัดการ


การวางแผนการเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วย
   1. ประเมินความต้องการผู้ใช้
   2. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
   3. ประชาสัมพันธ์โปรแกรมการสอน
   4. จัดเตรียมอุปการณ์การสอน
   5. จัดเตรียมบุคลากร
   6. จัดเตรียมสถานที่
   7. ปฏิบัติตามแผนงาน




วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554





บริการสอนการใช้  (Instructional Service)





      เป็นบริการสอนผู้ใช้ในการค้นคว้าและการใช้เครื่องมือการค้นได้อย่างถูกต้อง  เกิดทักษะในการใช้สารสนเทศและสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (Information literacy) และส่งเริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต




การรู้สารสนเทศ  (Information Literacy)
    
        คือ  ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ  ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ 


ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ 


      การรู้สารสนเทศมีความจำเป็น  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์  รวมถึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของมนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง


ลักษณะการจัดบริการสอนการใช้     มี 2 ลักษณะ คือ


1. บริการเฉพาะบุคคล (one-to-one Instruction) 
    บรรณารักษ์อ้างอิงจะจัดการบริการสอนหรือแนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับ หลักการค้นสารสนเทศ การใช้เครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศ และสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดบริการ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถได้มาซึ่งสารสนเทศที่เหมาะสม และตรงต่อความต้องการ


2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
    เหมาะสำหรับการให้บริการสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาใช้ห้องสมุด  โดยจะมีทั้งบริการที่ไม่เป็นทางการ คือ เมื่อมีการร้องขอ และ บริการที่เป็นทางการ คือ ทางห้องสมุดจะมีการกำหนดระยะเวลาแน่นอน  ลักษณะการให้บริการเป็นกลุ่ม ได้แก่ 
     - นำชมห้องสมุด โดยอธิบายเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด  การบริการหรือแผนกบริการ และสรุปเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด
     - บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือค้นคว้าทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
     - บริการสอนการค้นคว้า เพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)  มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 




วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)



บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)

    เป็นการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่และยังไม่ได้เผยแพร่ จัดส่งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  มีการเสียค่าลิขสิทธิ์ก่อนทำสำเนาถึงลูกค้า  โดยคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้และเสียภาษีด้วย




การนำส่งสารสนเทศ  (Document delivery) 


    บริการเสริม ILL  เป็นเครือข่ายที่อยู่นอกเหนือเครือข่ายที่ไม่มีบริการ ได้แก่ หนังสือ บทความวารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการติดต่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารที่มีราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งคราว (pay per use)  รวมถึงจัดการให้ผู้ใช้ได้อ่านหนังสือผ่านฐานข้อมูล เช่น Ingenta , Elsevier , SpringerLink แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากเป็นเอกสารเชิงพานิชย์


ปรัชญาการบริการ


1.  ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถหาทรัพยาการสารสนเทศได้ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ทั้งหมด
2. สนองความต้องการผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
3. แก้ปัญหาการบริการ เช่น ไฟไหม้  น้ำท่วมหรือกรณีสูญหาย
4. เพิ่มศักยภาพให้ผู้ใช้เข้าถึงการบริการได้มากที่สุด


วัตถุประสงค์การบริการ


    Just in time คือ จัดหาหรือให้บริการส่งเอกสารแก่ผู้ใช้ได้ทันเวลาที่ต้องการ

แตกต่างจาก ILL


  ไม่ใช่แค่การทำสำเนา แต่ยังจัดเตรียม  จัดหาและผลิต สำหรับผู้ใช้


วิธีการบริการ


- เดิม  ผ่านทางไปรษณีย์  โทรสาร หรือยานพาหนะ
- ปัจจุบัน  บริการจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวดเร็วกว่า ผ่านทาง
1. E-mail
2. นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร  ได้แก่  Prospero(OSS)  ส่งเอกสารแบบแจ้งทาง e-mail ให้ผู้ใช้เปิดดูจาก url และสามรถทำสำเนาได้


วิธีการนำส่ง 


    Ariel Interlibrary Loan Software เป็นการแสกนไฟล์  บีบอัดข้อมูล ร้อยละ 10 ส่งไปยังปลายทาง โดยต้องมีโปรแกรมเดียวกัน


ผู้ให้บริการ


1. สถาบันบริการสารสนเทศ
- การจัดส่งในสถาบัน ได้แก่ ทาง E-mail  ทางระบบออนไลน์ e-office และทางยานพาหนะ
- การจัดส่งระหว่างสถาบัน  โดยมีข้อตกลงร่วมกัน
2. ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร  จะเสริมในสิ่งที่ห้องสมุดหาไม่ได้หรือไม่มีในห้องสมุด เช่น ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta
  ผุ้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  Elsevier Science, SpringerLink, Gordon&Breach


การดำเนินการ   มี 2 แบบ คือ


1. แบบฟอร์ม DD (Document Delivery)   กระดาษ อัตโนมัติ
2. ขอบริการออนไลน์  สมัครสมาชิก


บริการบนอินเทอร์เน็ต 
     
      ได้แก่ ฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล Emerald



ข้อคำนึงการให้บริการ DD


1. ลิขสิทธ์
2. ค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสาร  ค่าสำเนา ค่าส่ง บุคลากร เป็นต้น
3. การเข้าถึงและ กรรมสิทธ์
4. ความสามารถในการเข้าถึงต่างระบบ




การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร


 1. แจ้งผู้ขอทันที
 2. จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
 3. บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้





วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)





บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)




     หนังสือสำรอง ส่วนใหญ่ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น  โดยให้บริการตามปกติที่เคาเตอร์ยืม-คืน  รวมถึงจำกัดระยะเวลาและจำนวนในการยืม

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม

1. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล เช่น ของอาจารยให้นักศึกษายืมอ่าน
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือ ได้แก่ ซีดี แบบทดสอบ ข้อสอบ (ต่างประเทศมีให้บริการนักศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอบ)
        นอกจากนี้ยังมีรูปภาพดิจิตอล  ซึ่งเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์  สามารถนำมาอ่านได้  อาจเป็นภาพจากวารสารหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ หากต้องการทำสำรอง ทางห้องสมุดสามารถทำให้ได้



ความสำคัญของบริการ


1. มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
2. เปิดโอกาสให้บรรณรักษ์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้สอน
3. นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน


งานที่ปฏิบัติ


1. รับใบขอใช้บริการ   ได้แก่  รับเอกสาร  จัดทำสำเนา  เข้าเล่มและจัดระเบียบเอกสาร
2. การทำบัตรยืม  ได้แก่ กำหนดระยะเวลาในการให้ยืม ให้บริการยืม-คืน เก็บค่าปรับ คืน-ย้ายเอกสารเก็บและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น


การจัดเก็บ


    ปัจจุบันใช้ระบบบาร์โค้ดหรือระบบอัตโนมัติ  โดยจัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชา ชื่อผู้สอน  สำหรับเอกสารที่มีการสแกน มีการจัดเก็บไว้บน OPAC และแจ้งแหล่งจัดเก็บให้สามารถถ่ายโอนได้ทันที


การจัดการเอกสาร


1. โดยการประทับตรา "ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น"
2. จัดทำบัตรยืมและมีคำแนะนำ เช่น ห้ามนำออกจากห้องสมุด ห้ามถ่ายเอกสาร
3. ใช้สีแตกต่างกันหากมีระยะเวลาในการให้ยืมต่างกัน
4. ใส่ชื่อผู้สอนตามกระบวนวิชา


ระยะเวลาในการยืม


1. สำหรับการยืมในห้องสมุด ระยะเวลาที่กำหนดคือ 2 ชั่วโมงเท่านั้น
2. ยืมออกนอกห้องสมุด 1-2 วันหรือเฉพาะนอกเวลาทำการเท่านั้น
3. โดยทั่วไประยะเวลาจะสั้นกว่าปกติและสามารถหมุนเวียนในหลุ่มผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง


การเข้าถึง


1. รายการหนังสือสำรองจะมีแจ้งในการค้น OPAC 

2. มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ได้
3. แจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บหรือวิธีการจัดเก็บ ให้ผู้สอนแจ้งนักศึกษาต่อ


ความสัมพันธ์กับผู้สอน


      พยายามติดต่อสื่อสารกับผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ  และบรรณารักษ์ควรดำเนินการแจ้งให้มารับหรือประสานงานในรูปแบบการส่งคืนที่ต้องการ


การจัดเจ้าหน้าที่ / คุณสมบัติ


1. ปรับจำนวนผู้ใช้บริการตามจำนวนการเข้าใช้
2. มีทักษะในการสื่อสาร ประสานงาน
3. มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์



รูปแบบการจัดเก็บ


1. ชั้นปิด
2. ในกรณีที่หนังสือมีไม่มาก ก็จัดเก็บในบริเวณให้บริการยืม-คืน
3. จัดเก็บบริเวณใกล้เคียงกับบริการยืมคืน
4. ห้องแยกเฉพาะ


การจัดบริเวณบริการ


   ควรอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับเคาเตอร์จ่ายรับ  สามารถมองเห็นได้ง่าย  และควรมีเครื่องถ่ายเอกสารในบริเวณใกล้เคียง


แนวโน้มการให้บริการในอนาคต


1. มีเอกสารดิจิตอลให้สามารถถ่ายโอนและมีการจัดทำรายการฉบับพิมพ์และบน OPAC
2. สามารถเข้าถึงได้ตอดเวลาและสถานที่
3. มีการป้องกันสิทธิ
4. คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้




วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


บริการยืมระหว่างห้องสมุดและลิขสิทธิ์


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
       มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา  โดยห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษวิธีการยืมระหว่างห้องสมุด  ดังนี้
!จัดทำคู่มือ
!กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
!กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน

กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
      คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน 

การสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ 
     เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์  และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุดว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.  การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อผ่านทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ อาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน  จึงควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
รวมถึงใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ 
อาจผ่านเครือข่ายความร่วมมือ เช่น PULLINET  ThaiLis

2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
         ภายในสถาบัน/เครือข่าย  สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น รวมถึงผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย  ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบันอื่นๆ
  ยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW)
        ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น   สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรยืมมากที่ใด

การคิดค่าบริการ
       ควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน   แต่สถาบันควรมีชดให้หากเกิดการสูญหาย

วัสดุที่ควรเพิ่มในการให้บริการ
!หนังสืออ้างอิง
!หนังสือหายาก
!ประเด็นสำคัญในปัจจุบันของวารสาร
!จดหมายเหตุบนไมโครฟิล์ม



ข้อควรทราบเรื่องลิขสิทธิ์

สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์
มาตรา 7 กำหนดให้งานดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์
1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร 
2) รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3) ระเบียบ ข้อบังคับ  คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของหน่วยงาน
4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆที่กระทรวง ทบวง กรม หรืองานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

สิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง
!ทำซ้ำหรือดัดแปลง
!เผยแพร่ต่อสาธารณชน
!ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
!โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
!ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธ์แก่ผู้อื่น



บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ILL)

   


   บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan - ILL)

                เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน เนื่องจากไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด จึงต้องให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม



ความคาดหวังของผู้ใช้
มีความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม
มีความน่าเชื่อถือ
สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้



ปรัชญาของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
       ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
รวมถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด



ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
ลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่พอเพียง 
ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน 
มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า
ช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น 



องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ  เช่น PULINET  THAILIST OHIOLINK  WORLDCat
การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
สมาชิกเครือข่าย